314965341_125277703701543_7143180112878709014_n
461951947_518559947706648_2359080696031280463_n(1)(1)
snga
ngarongchai
wheremai
soriya
slideBaner2025_2

ประวัติสถานศึกษา

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
เลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ถนนสาย 15 ตําบลสะเตงนอก อําเภอเมือง
จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 0 7327 4803 โทรสาร 0 7327 4803
E-mail yala02@vec.mail.go.th
Website www.yvc.ac.th

          วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ถนนสาย 15 บ้านบาโงยบาแดตําบลสะเตงนอกอําเภอเมือง จังหวัดยะลา มีเนื้อที่จํานวน 49 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์โดยที่ประชุมคณะกรรมการสภาตําบลสะเตงนอกมีมติมอบที่ดินดังกล่าว เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ตามนโยบายขยายการศึกษาเพื่อเพิ่มกําลังคนระดับกลาง ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประชาชน รวมทั้งเป็นการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการเสริมสร้างและพัฒนากําลังคนของประเทศให้มีคุณภาพ

          วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ดําเนินการก่อตั้งขึ้นเนื่องจากวิทยาลัยเทคนิคยะลา ซึ่งเป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและคหกรรม มีนักเรียน นักศึกษาจํานวนมาก กรมอาชีวศึกษาจึงมีความประสงค์ให้แยกประเภทวิชาบริหารธุรกิจและประเภทวิชาคหกรรมศาสตร์ไปเปิดทําการเรียนการสอนในสถานศึกษาใหม่
          วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เปิดทําการสอนปีแรกในปีการศึกษา 2539 เริ่มรับนักเรียนระดับ ปวช.สาขาวิชาพาณิชยการ ในระยะเริ่มแรกวิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอนโดยใช้บุคลากร อาคารสถานที่และอุปกรณ์การเรียนการสอนร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคยะลา และเปิดทําการสอนในสถานที่ทําการปัจจุบันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และตัดโอนคณะวิชาคหกรรมศาสตร์จากวิทยาลัยเทคนิคยะลาใน ปีการศึกษา 2541 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งให้วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เป็นส่วนราชการในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามประกาศลงวันที่ 17 ตุลาคม 2556 ลงนามโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในสมัยนั้น ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปีการศึกษา 2560
          วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสาย
เทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ต่อเนื่อง) จํานวน 2 สาขา ประกอบด้วย ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ (เป็นห้องเรียนที่ 2 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี) และภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (เป็นห้องเรียนที่ 2 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา)