ประวัติของวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระที่สำคัญ

ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา
เลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ถนนสาย 15 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 0 7327 4803 โทรสาร 0 7327 4803
E-mail yala02@vec.mail.go.th
Website www.yvc.ac.th

ประวัติสถานศึกษา
          วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ถนนสาย 15 บ้านบาโงยบาแดตำบลสะเตงนอกอำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีเนื้อที่จำนวน 49 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์โดยที่ประชุมคณะกรรมการสภาตำบลสะเตงนอกมีมติมอบที่ดินดังกล่าว เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2538ตามนโยบายขยายการศึกษาเพื่อเพิ่มกำลังคนระดับกลาง ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประชาชน รวมทั้งเป็นการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการเสริมสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศให้มีคุณภาพวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ดำเนินการก่อตั้งขึ้นเนื่องจากวิทยาลัยเทคนิคยะลา ซึ่งเป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและคหกรรม มีนักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก กรมอาชีวศึกษาจึงมีความประสงค์ให้แยกประเภทวิชาบริหารธุรกิจและประเภทวิชา
คหกรรมศาสตร์ไปเปิดทำการเรียนการสอนในสถานศึกษาใหม่วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เปิดทำการสอนปีแรกในปีการศึกษา 2539 เริ่มรับนักเรียนระดับ ปวช.สาขาวิชาพาณิชยการ ในระยะเริ่มแรกวิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอนโดยใช้บุคลากร อาคารสถานที่และอุปกรณ์การเรียนการสอนร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคยะลา และเปิดทำการสอนในสถานที่ทำการปัจจุบันเมื่อวันที่
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และตัดโอนคณะวิชาคหกรรมศาสตร์จากวิทยาลัยเทคนิคยะลาใน ปีการศึกษา 2541 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งให้วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เป็นส่วนราชการในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามประกาศลงวันที่ 17 ตุลาคม 2556ลงนามโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในสมัยนั้น ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ต่อเนื่อง) จำนวน 2 สาขา ประกอบด้วย ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ (เป็นห้องเรียนที่ 2 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา)

การจัดการศึกษา
         หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยรับนักเรียน นักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนทั้งระบบปกติและระบบทวิภาคีระบบปกติได้แก่ สาขาวิชาการบัญชีสาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอและสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ระบบทวิภาคีได้แก่ สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
         โดยรับนักเรียน นักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนทั้งระบบปกติ และระบบทวิภาคีระบบปกติได้แก่ สาขาวิชาการบัญชีสาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชา ภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ระบบทวิภาคีสาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น

หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.)
         โดยรับนักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาที่ตรงกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษา ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีสาขาวิชาอาหารและโภชนาการและอุตสาหกรรมอาหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

หลักสูตรระยะสั้นฐานสมรรถนะ
         เป็นหลักสูตรสำหรับผู้สนใจวิชาชีพเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะเยาวชนและประชาชน ซึ่งจะใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 6 – 225 ชั่วโมง และเสียค่าบำรุงการศึกษาในราคาถูกและประหยัด ซึ่งวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชา ตามความต้องการของชุมชน

หลักสูตรภายใต้โครงการพิเศษ
        เป็นการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่กลุ่มเยาวชนหรือ กลุ่มแม่บ้าน โดยวิทยาลัยฯ จะดำเนินการจัดวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากท้องถิ่น ทุกหมู่บ้าน ในสาขาวิชาตามความต้องการของท้องถิ่นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะจัดที่ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพประจำอำเภอกรงปินัง วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา หรือในพื้นที่ที่กลุ่มจัดตั้งกำหนด

สภาพชุมชน
          วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เป็นวิทยาลัยฯ ที่จัดตั้งขึ้นอยู่ในเขตชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลสะเตงนอก เลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ถนนสาย 15 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บริเวณโดยรอบนอกนั้นประกอบด้วยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สถานีอนามัย สำนักงานชุมสายโทรศัพท์ และศาสนสถาน ด้านหน้ามีแอ่งเก็บน้ำของชุมชน ด้านทิศตะวันออก และทิศใต้เป็นคลองระบายน้ำ และสวนยางพารา ทิศตะวันตกมีบริเวณติดกับโรงเรียนไทยรัฐวิทยา

          ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามพูดภาษายาวี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ค้าขายและรับจ้างทั่วไป เนื่องจากประชาชนมีการทำสวนผลไม้ และสวนยางพารากันมาก ทำให้พื้นที่โดยรอบของวิทยาลัยฯ มีความร่มรื่นบรรยากาศดีเหมาะสำหรับที่ตั้งของสถานศึกษา การคมนาคมจากตัวเมืองเทศบาลนครยะลาถึงวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลาใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที สามารถรายงานผลการประเมินตนเอง (SELF ASSESSMENT REPORT : SAR) วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ปีการศึกษา 2563 เดินทางโดยรถโดยสารสองแถวหรือใช้พาหนะส่วนตัว ถนนที่ใช้เดินทางไปวิทยาลัยฯ เป็นถนนลาดยางทำให้สะดวกและปลอดภัย

สภาพเศรษฐกิจ
          ครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ได้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต และรู้จักมีการหารายได้เสริม

สภาพสังคม
         วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา มีความเป็นอยู่ที่รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันซึ่งกันและกันทั้งภายในวิทยาลัยและภายนอกวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ